วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ความร้อนสำหรับการฆ่าเชื้อ

   ความร้อนที่มีผลต่อการฆ่าเชื้อ มีทั้งความร้อนแห้งและความร้อนชื้น ความร้อนแห้งได้แก่ การเผาไฟโดยตรง ใช้ตู้เผาหรือเตาเผา ความร้อนชื้น ได้แก่ การต้ม การ autoclave การ pasteurize เป็นต้น 

      โดยทั่วไปการใช้ความร้อน 50-60 °ซ เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง จะฆ่าไวรัสส่วนใหญ่ได้ ยกเว้นเชื้อที่ทนเป็นพิเศษ เช่น rhinovirus, enterovirus ไวรัสตับอักเสบ บี เป็นต้น การมีสารบางชนิด เช่น เกลือแมกนีเซี่ยมอยู่ด้วยจะทำให้ไวรัสทนต่อความร้อนมากขึ้น การต้มในน้ำเดือด 20-30 นาที จะสามารถฆ่าไวรัสได้ทั้งหมด แต่ถ้าต้องการฆ่าเชื้อทุกชนิดให้หมดอย่างสมบูรณ์รวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรียต้องใช้วิธี autoclave คือ การนึ่งด้วยไอน้ำที่ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 °ซ จะฆ่าเชื้อได้หมดใน 15 นาที ส่วน pasteurization นั้น มักใช้ฆ่าเชื้อในอาหาร เช่น นม ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อก่อโรคทางเดินอาหารรวมทั้ง enterovirus 

      ที่อุณหภูมิ 4 °ซ เชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ได้นานหลายวัน และอยู่ได้นานเป็นปีที่ -70 ° 


      แสงอัลตราไวโอเลต (UV) เชื้อไวรัสแต่ละชนิดจะไวต่อแสง UV ที่มีความยาวคลื่นไม่เท่ากัน แต่จะอยู่ในช่วง 100-400 นาโมเมตร ซึ่งหลอด UV ที่ใช้กันทั่วไปให้แสงที่มีความยาวคลื่น 254 นาโมเมตร แสง UV มักใช้ในการฆ่าเชื้อในอากาศ เพราะแสงไม่สามารถแทรกผ่านตัวกลางที่เป็นของเหลวหรือของแข็งไปได้ จะฆ่าเชื้อได้เฉพาะบริเวณพื้นผิวเท่านั้น

ดังนั้น เครื่องนึ่งขวดนม ที่จะให้ความร้อนฆ่าเชื้อได้นั้นจำเป็นมีความร้อนที่พอเหมาะสำหรับการฆ่าเชื้อนั้นเอง 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น