วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

ขวดนมพลาสติกกับขวดนมแก้วต่างกันอยากไร...

ขวดนมที่ใช้สำหรับทารกนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
   1. ขวดนม ที่ทำจากพลาสติก
   2. ขวดนม ที่ทำจากแก้ว





โดยทั่วไปแล้ว ขวดนมใหม่ๆ ที่ทำจากพลาสติก จะไม่มีสารตกค้างใดๆ ค่ะ เพียงแต่ว่าเมื่อเรานำไปใช้นานๆ เข้า จนผิว (พลาสติกด้านใน) เริ่มเป็นรอยอันอาจจะเกิดจากการล้างทำความสะอาด หรือการโดนความร้อนจัด หรือเย็นจัดแล้วโดนกระแทก ก็อาจจะเกิดรอยขูดขีด (ซึ่งบางครั้งเราอาจจะไม่ทันสังเกตเห็น เพราะมันอยู่ด้านใน)
   เมื่อเนื้อพลาสติกเป็นรอย สารก่อมะเร็งกลุ่ม BPA (Bisphenol A) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate Plastic) และ อีพอกซีเรซิ่น (Epoxy Resins) (นิยมเอามาใช้ทำ ขวดและทำให้ขวดพลาสติกมีความใส) สารพิษ BPA นี้จะซึมออกมาปนเปื้อนในน้ำนมในขวดนมของลูกเราด้วย!!!
   จากการทดลองในหนู พบว่า สาร BPA แค่เพียง 3 ส่วนในล้านส่วน ก็มีส่วนทำให้เกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่งผลต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ในร่างกายอีกด้วย แม้ว่าปริมาณสารที่ปนเปื้อน นี้อาจจะมีน้อย แต่เนื่องจากว่าเราต้องให้ลูกของเรากินนมจากขวดติดต่อกัน ก็เป็นการสะสมสารพิษนี้ได้เช่นกัน ซึ่งข้อดีข้อเสียของขวดนมแต่ละแบบมีดังนี้

ข้อดีของขวดนมแบบแก้ว

   - ไม่มีสาร BPA เป็นส่วนประกอบของขวด
   - ล้างทำความสะอาดได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องรอยขีดขวด
   - ทนความร้อนและความเย็นได้ดี

ข้อเสียของขวดนมแบบแก้ว

   - ต้องใช้ความระมัดระวังในการดูแลเป็นอย่างมาก
   - น้ำหนักขวดมาก
   - ให้ลูกถือขวดนมกินเองยาก เพราะหนักและอาจจะตกแตกได้ง่าย
   - ราคาสูงกว่าขวดนมพลาสติก และอาจจะหาซื้อได้ยากหรือมีตัวเลือก (ยี่ห้อ) น้อยกว่า (กรณีอยู่ต่างจังหวัด)
   ขวดนมแบบแก้วอาจจะเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิดจนถึง 4 เดือน เพราะยังไม่ต้องกังวลเรื่องการหย่าขวดนมหรือการฝึกให้ลูกถือขวดนมกินเอง

ข้อดีของขวดนมแบบพลาสติก

   - ขวดนม มีน้ำหนักเบา ไม่ต้องกลัวขวดนมตกแตก
   - ราคาถูก หาซื้อง่าย

ข้อเสียของขวดนมแบบพลาสติก

   - เวลาทำความสะอาด หากใช้ความรุนแรง (น้ำยาล้างขวดที่มีฤทธิ์แรงเกินไป) หรือใช้วัสดุทำความสะอาดที่ไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้ขวดด้านในเป็นรอย เมื่อเป็นรอยสาร BPA ก็จะปนเปื้อนออกมา
   - ยิ่งขวดนมพลาสติกเป็นแบบใสมากเท่าไร ขวดนั้นยิ่งมีสาร BPA มากเท่านั้น เพราะสาร BPA ใช้ทำให้ขวดนมใส หากเป็นขวดนมแบบขุ่น ก็จะมีสาร BPA น้อยกว่า
   นอกจากขวดนมแล้ว จุกนมที่ทำจากพลาสติกก็เป็นอีกเรื่องที่คุณแม่ทั้งหลายควรจะใส่ใจนะค่ะ เพราะจุกนมนั้นมี 2 แบบคือ ทำจากพลาสติกและแบบซิลิโคน ซึ่งแบบพลาสติกนั้น โอกาสที่ลูกของเราจะดูดไปหม่ำจุกนม (ขบกัดเพราะกำลังหมั่นเขี้ยว ฟันกำลังขึ้น) จนทำให้จุกนม (ทำจากพลาสติก) ฉีกขาด ก็มีโอกาสที่สาร BPA จะปนเปื้อนได้เช่นกันค่ะ ส่วนที่เป็นจุกนมแบบซิลิโคนเด็กจะขบ กัด ยังไงก็ไม่ขาดค่ะ
   ในปัจจุบันมีผู้จำหน่าย ขวดพลาสติก ไม่กี่รายที่ทำขวดนมแบบ BPA-Free ออกมา (ไม่มีสาร BPA) ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าหากสามารถเลือกซื้อมาใช้งานได้ แต่หากหาซื้อไม่ได้จริงๆ ก็อาจจะเลือกใช้ขวดนมแบบ แก้วแทนก็ได้ เพียงแต่ต้องระวังเรื่องการแตก หรือบิ่น ซึ่งหากขวดนมแบบแก้วมีรอยบิ่นแล้วเราก็ไม่ควรที่จะใช้งานต่อเช่นกันค่ะ แต่หากมีโอกาสก็ให้ลูกกินนมจากอกแม่เรานี่แหละดีที่สุดแล้วค่ะ เพราะนอกจากจะปลอดภัยแล้ว ลูกยังได้รับอ้อมกอดที่อบอุ่นจากแม่ และยังได้สบตาปิ้งๆ กับคุณแม่ด้วย ทำให้ลูกอารมณ์ดี เลี้ยงง่ายค่ะ

ในการดูแลรักษา หรือการล้างขวดนมทั้งสองแบบใส่ความร้อนในการล้านเพื่อทำให้ขวดนมสะอาดจึง การใช้ เครื่องนิ่งขวดนม อาจเป็นหนึ่งทางออกในการล้างหรือทำความสะอาดให้ ขวดนมนี้สะอาดอย่างแท้จิง ด้วยการใช้ เครื่องนิ่งขวดนม